โรคที่ยุงเป็นพาหะมีด้วยกันอยู่หลากหลายประเภท สาเหตุเกิดจากแมลงตัวจิ๋วอย่าง ‘ยุงลาย’
ที่เป็นพาหะนำโรคอันตรายมาสู่คนและส่วนใหญ่ถือเป็นโรคที่รุนแรงปานกลางไปถึงมากที่คร่าชีวิตคนได้เป็นอันดับต้นๆ โดยหลักๆ แล้วมีอยู่ 4 โรคดังต่อไปนี้
1. โรคไข้เลือดออก
โรคที่ยุงเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) มาสู่คน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นยุงลายบ้านตัวเมียและยุงลายสวน มักพบในบริเวณที่ฝนตกชุกหรือป่าสวนที่มีน้ำฝนขังอยู่โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนก็จะแพร่เชื่อนั้นเข้าสู่ร่างกายก็จะฟักเชื้อในร่างกายของคนเป็นเวลาประมาณ 5-8 วัน และหลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการแสดงของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นแดงขึ้นที่ผิวหนังตามร่างกาย มีอาการเลือดออกตามผิวหนังและอาจเกิดภาวะตับโตจนอัตรายถึงขั้นมีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา
2. โรคมาลาเรีย
โรคที่ยุงเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสที่ Plasmodium ที่ก่อให้เกิดโรคมาราเรียมาติดต่อสู่คน โดยชนิดที่ก่อโรค ได้แก่ P.falciparum, P.vivax, P.malariae และ P.ovale ซึ่งส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะพบชนิดเชื้อ P.vivax ที่ไม่ค่อยแสดงอาการรุนแรงเท่ากับเชื้อชนิดอื่น ซึ่งยุงก้นป่องเพศเมียจะนำเชื้อมาแพร่เข้าสู่ร่างกาย โดยปล่อยเชื้อจากต่อมน้ำลายสู่กระแสเลือดของคน แต่ระยะฟักตัวของเชื้อจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละเชื้อชนิด ซึ่ง P.ovale ที่พบส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน ส่วนอาการของผู้ป่วยมาราเรียในช่วงแรกจะมีไข้หวัด ปวดเมื่อยลำตัว ปวดศีรษะ และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยอาการที่เด่นชัดสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ร่างกายหนาวสั่น ปากสั่น ตัวซีด แต่เป็นไม่นานประมาณ 15-60 นาที
- ระยะที่ร่างกายร้อน ไข้ขึ้นสูง
- ระยะเหงื่อออกมาก ร่างกายอ่อนเพลียและไข้ลดลงจนไข้หายแต่อาจจับไข้ใหม่แล้วเกิดอาการซ้ำสลับวนไปจากทั้ง 3 ระยะ
3. ไข้ปวดข้อยุงลาย
โรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นโรคที่ยุงเป็นพาหะติดต่อคนสู่คนจากการถูกยุงลายกัด ซึ่งอาการเจ็บป่วยจะมีลักษณะคล้ายโรคไข้เลือดออก แต่จะมีความแตกต่างตรงที่โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือชิคุนกุนยาจะไม่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำมาก ไม่มีเลือดออกรุนแรง รวมถึงไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างไข้เลือดออก โดยมีระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 2-5 วันเท่านั้น เมื่อครบระยะฟักตัวของเชื้อแล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้สูงและผิวหนังจะมีลักษณะสีแดงขึ้นจากการที่เส้นเลือดฝอยขยายตัว ตลอดจนอาการปวดข้อส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่หลายเดือน
วิธีป้องกันโรคที่ยุงเป็นพาหะ
หากใครที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่ยุงชุกชุมย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคจากยุงได้สูง จึงควรหมั่นตรวจเช็กบริเวณบ้านและภายในห้องว่ามีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงหรือไม่ รวมถึงป้องกันยุงด้วยวิธีเหล่านี้
– ควรพักอาศัยหรือนอนในห้องที่ไม่มีมุมอับชื้น หรือติดมุ้งลวด กางมุ้งนอนเพื่อป้องกันยุงเข้ามาภายในบ้าน
– สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด เช่น กางเกงขาวยาว เสื้อแขนยาว แนะนำเป็นเสื้อผ้าสีอ่อนโทนสว่าง
– เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการโดนยุงกัด ควรใช้ยากันยุงทาหรือพ่นบริเวณผิวหนังตามลำตัวทั้งแขนขาโดยเฉพาะส่วนที่เสื้อผ้าไม่ได้ปกปิดมิดชิด
– กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง โรยยาฆ่ายุง หรือพ่นยายุง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงแพร่เชื้อหรือเพาะพันธุ์ได้
– ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและบรรเทาความรุนแรงของโรค
ทั้งนี้ เพื่อความอุ่นใจควรทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น 3 โรคที่ยุงเป็นพาหะข้างต้นหรือโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลและรองรับความเสี่ยงสุขภาพในระยะยาว โดยสามารถเปรียบเทียบและเลือกแผนประกันสุขภาพได้ผ่าน Rabbit Care มีบริการโทรปรึกษาแพทย์แบบไม่ต้องไปโรงพยาบาล สามารถเปรียบเทียบแผนจ่ายออนไลน์โดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายได้ที่ https://rabbitcare.com/health-insurance หรือโทรสอบถามรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง